เมนู

พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [8. อัฏฐมวรรค] 9. รูปังกัมมันติกถา (81)
[526] สก. ในอรูปภพ รูปมีอยู่ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การสลัดออกจากรูป พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอรูปมิใช่หรือ”
ปร. ใช่
สก. หากการสลัดออกจากรูป พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอรูป” ท่านก็
ไม่ควรยอมรับว่า “ในอรูปภพ รูปยังมีอยู่”
สก. การสลัดออกจากรูป พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นอรูป” โดย
มีพระประสงค์ว่า “ในอรูปภพ รูปยังมีอยู่” ใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. การสลัดออกจากกาม พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “เป็นเนกขัมมะ”
โดยมีพระประสงค์ว่า “กามยังมีอยู่ในเนกขัมมะ อาสวะยังมีอยู่ในอนาสาวะ โลกิยธรรม
ยังมีอยู่ ในโลกุตตรธรรม” ใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
อรูเปรูปกถา จบ

9. รูปังกัมมันติกถา (81)
ว่าด้วยรูปเป็นกรรม
[527] สก. รูปที่เป็นกายกรรม1ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศลใช่ไหม
ปร.2 ใช่3
สก. รูปที่เป็นกายกรรม เป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง มี
ความผูกใจ มีความสนใจ มีความใฝ่ใจ มีความจงใจ มีความปรารถนา มีความ
ตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

เชิงอรรถ :
1 รูปที่เป็นกายกรรม ในที่นี้หมายถึงกายวิญญัติรูป (อภิ.ปญฺจ.อ. 527-537/238)
2 ปร. หมายถึงภิกษุในนิกายมหิสาสกะและนิกายสมิติยะ (อภิ.ปญฺจ.อ. 527/238)
3 เพราะมีความเห็นว่า รูปที่เป็นกายกรรม (กายวิญญัติ) และรูปที่เป็นวจีกรรม (วจีวิญญัติรูป) ที่เกิดจาก
กุศลจิต เป็นกุศลกรรม ส่วนรูปที่เกิดจากอกุศลจิต จัดเป็นอกุศลกรรม ซึ่งต่างกับความเห็นของสกวาทีที่
เห็นว่า เจตนาเท่านั้นจัดเป็นกรรม รูปไม่จัดเป็นกรรม (อภิ.ปญฺจ.อ. 527/238)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :566 }


พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ [8. อัฏฐมวรรค] 9. รูปังกัมมันติกถา (81)
สก. รูปที่เป็นกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ไม่มีความผูกใจ ไม่มีความสนใจ ไม่มีความใฝ่ใจ ไม่มีความจงใจ ไม่มีความปรารถนา
ไม่มีความตั้งใจมิใช่หรือ
ปร. ใช่
สก. หากรูปที่เป็นกายกรรมเป็นสภาวธรรมที่รับรู้อารมณ์ไม่ได้ ไม่มีความนึกถึง
ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจ ท่านก็ไม่ควรยอมรับว่า “รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วย
จิตที่เป็นกุศลเป็นกุศล”
สก. ผัสสะที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง
ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. เวทนา ฯลฯ สัญญา ... เจตนา ... สัทธา ... วิริยะ ... สติ ... สมาธิ
ฯลฯ ปัญญา ที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้ มีความนึกถึง
ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่
สก. รูปที่เป็นกายกรรมที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ได้
มีความนึกถึง ฯลฯ มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ไม่ควรกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สก. รูปที่เป็นกายกรรมเกิดขึ้นด้วยจิตที่เป็นกุศล เป็นกุศล รับรู้อารมณ์ไม่ได้
ไม่มีความนึกถึง ฯลฯ ไม่มีความตั้งใจใช่ไหม
ปร. ใช่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 37 หน้า :567 }